donphaih2.jpg

Home | Baan | Wat Donphai | School | Project | Member | Learn English | Cultures | Guestbook | Temple | Thai TV | Thai Business

Wat Donphai

ประวัติวัดเวฬุวัน (ดอนไผ่)
 
วัดเวฬุวัน บ้านดอนไผ่  ตั้งขึ้นในสมัยช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่ ๒
บริเวณวัด และหมูบ้านเป็นป่าไผ่ มีคลองน้ำ  ห้วย  และลำน้ำชี 
หมู่บ้านดูแลอุปถัมภ์วัด
 
ประกอบด้วย   1.บ้านดอนไผ่  จำนวน 200 กว่าหลังคา
                    2.บ้านโนนฝักทอง  จำนวน 70 กว่า หลังคา
                    3.บ้านโคกสูงน้อย ห่างจากวัดประมาณ  3 กิโลเมตร  จำนวน 20 กว่าหลังคา
วัดและบ้านหมู่บ้านพร้อมกัน  เมื่อประชาชนมาตั้งบ้านในปีประมาณ พศ.2456  
 
ลำดับพระเจ้าอาวาสที่ดูแลวัด
 
1.พระอาจารย์อ่อน  
2.พระอาจารย์สาย 
3.พระเจ้าอธิการป้อม  ปริปุณโณ    ปี พ.ศ. 2479 -2528
4.พระอธิการสนั่น  กัลยาณธัมโม   ปี พ.ศ.2529-2534
5.พระอธิการแหม่ง  มหาวีโร         ปี พ.ศ. 2534-2540  (มรณภาพ)
6.พระอาจารย์สาย                         ปี พ.ศ.2541-2554
7.พระบุญถิ่น                                 ปี  พ.ศ.2555  รักษาการเจ้าอาวาส
 
จำนวนพระที่จำพรรษาในปี2549   มีจำนวน  7 รูป
 
 
โดยปกติจะมีพระสงฆ์สามเณร  บวชและเรียนหนังสือ และลาสิกขาไปตามยุคสมัย...
และก็มียุคใหม่ คยรุ่นใหม่มาสืบทอด  จากร่นสู่ร่น เพื่อสืบทายาทแห่งธรรม...
 
 

porkoon2000.jpg

odinationpn4.jpg

ordinationpn7.jpg

picture07.jpg

picture4.jpg

picture03.jpg

picture02.jpg

germany.jpg

                 มหาเวสสันดรชาดก
๑  กัณฑ์ทศพร   ความย่อ
กล่าวถึงเหตุที่จะมีเรื่องเวสสันดรชาดกขึ้น กับเล่าเรื่องพระนางผุสดีในอดีตจนถึงทูลขอพร ๑๐ ประการ จากท้าวมัฆวารผู้ภัสดา พระนางผุสดีได้รับพรทิพย์ ๑๐ ประการ ในวันจะเกิดมาเป็นมารดาของพระเวสสันดร ณ เมืองสีพีราษฎร์
เนื้อเรื่อง
เมื่อครั้งอดีตกาลที่ล่วงมา นครสีพีรัฐบุรีนั้นมีพระราชาพระนามสีพีราช ทรงครองเมืองโดยทศพิธราชธรรม พระราชาทรงยกบัลลังก์ให้พระโอรสขึ้นเสวยราชย์แทน เมื่อเจริญวัยสมควรแล้ว พระราชโอรสมีพระนามว่า "สัญชัย" และได้อภิเษกกับพระนางผุสดี พระธิดาแห่งราชากรุงมัททราช   พรจากภพสวรรค์ แต่ปางก่อนนั้นผุสดีเทวีเสวยชาติเป็นอัครมเหสีของพระอินทร์ เมื่อจะสิ้นพระชนมายุจึงขอกัณฑ์ทศพรจากพระอินทร์ได้ ๑๐ ข้อ ทั้งยังเคยโปรยผงจันทร์แดงถวายพระวิปัสสีพุทธเจ้า และอธิฐานให้ได้เกิดเป็นมารดาพระพุทธเจ้าด้วย พร ๑๐ ข้อนั้นมีดังนี้
๑. ขอให้เกิดในกรุงมัททราช แคว้นสีพี
๒. ขอให้มีดวงเนตรคมงามและดำขลับดั่งลูกเนื้อทราย
๓. ขอให้คิ้วคมขำดั่งสร้อยคอนกยูง
๔. ขอให้ได้นาม "ผุสดี" ดังภพเดิม
๕. ขอให้มีพระโอรสเกริกเกียรติที่สุดในชมพูทวีป
๖. ขอให้พระครรภ์งาม ไม่ป่องนูนดั่งสตรีสามัญ
๗. ขอให้พระถันเปล่งปลั่งงดงามไม่ยานคล้อยลง
๘. ขอให้เส้นพระเกศาดำขลับตลอดชาติ
๙. ขอให้ผิดพรรณละเอียดบริสุทธิ์ดุจทองคำธรรมชาติ
๑๐. ขอให้ได้ปลดปล่อยนักโทษที่ต้องอาญาประหารได้
อานิสงส์
ผู้ใด บูชากัณฑ์ทศพร ผู้นั้นจะได้รับทรัพย์สมบัติดังปรารถนา ถ้าเป็นสตรีจะได้สามีเป็นที่ชอบเนื้อเจริญใจ บุรุษจะได้ภรรยาเป็นที่ต้องประสงค์อีกเช่นเดียวกัน จะได้บุตรหญิงชายเป็นคนว่านอนสอนง่ายมีรูปกายงดงาม มีความประพฤติดีกิริยาเรียบร้อยทุกประการฯ
ข้อคิดประจำกัณฑ์
การทำบุญจักให้สำเร็จสมประสงค์ต้องอธิษฐานจิต ตั้งเป้าหมายชีวิตที่ตนปรารถนาไว้ ความปรารถนาที่จะสำเร็จสมดังตั้งใจ ผู้นั้นต้องมีศีลบริบูรณ์ กล่าวคือ
๑. ต้องกระทำความดี
๒. ต้องรักษาความดีนั้นไว้
๓. หมั่นเพิ่มพูนความดีให้มากยิ่งขึ้น
กัณฑ์หิมพานต์
ความย่อ
กล่าวถึงปฏิสนธิพระนางผุสดี พระเวสสันดร และพระชาลี-กันหา ไปจนถึงพราหมณ์เมืองกลิงครัฐ ๘ คน มาทูลขอพญาช้างปัจจัยนาคจากพระเวสสันดร พระเวสสันดรพระราชทานให้ ทำให้ชาเมืองแค้นเคืองใจ พากันเดินขบวนประท้วงทูลพระราชบิดาให้เนรเทศพระเวสสันดรไปอยู่เขาวงกตหรือประหารด้วยท่อนจันทน์
เนื้อเรื่อง
ได้มาเกิดเป็นอัครชายา ของพระราชาแคว้นสีพีรัฐสมดั่งคำพระอินทร์นั้น พระนางยังมีพระสิริโฉมงดงามตามคำพรอีกด้วย ครั้งเมื่อทรงพระครรภ์ครบ ๑๐ เดือน พระอินทร์ก็ทูลอาราธนาพระโพธิสัตว์มาจุติในครรภ์พระนาง ประสูติพระกุมาร
วันหนึ่งพระนางผุสดีทรงทูลขอพระราชาประพาสพระนคร เมื่อขึ้นสีวิกาเสลี่ยงทองเสด็จสัญจร ไปถึงตรอกทางของเหล่าพ่อค้าก็เกิดปวดพระครรภ์ และทรงประสูติพระราชาโอรสกลางตรอกนั้น พระราชกุมารจึงได้พระนามว่า "เวสสันดร"
         ในวันที่พระราชกุมารทรงประสูติ พญาช้างฉัททันต์ได้นำลูกช้างเผือกเข้ามาในโรงช้างต้น ช้างเผือกคู่เผือกคู่บารมีนั้นมีนามว่า "ปัจจัยนาเคนทร์"
พระราชกุมารเวสสันดร ทรงบริจาคทานตั้งแต่ ๔-๕ ชันษา ทรงปลดปิ่นทองคำ และเครื่องประดับเงินทองแก้วเพชรให้แก่นางสนมกำนัลทั่วทุกคนถึง ๙ ครั้ง เพื่อมุ่งหวังพระโพธิญาณภายภาคหน้า   เมื่อทรงเจริญชันษาได้ ๙ ปี ก็ทรงตั้งจิตอธิษฐานว่าจะบริจาคเลือดเนื้อ และดวงหทัยเพื่อมุ่งพระโพธิญาณในกาลข้างหน้าอย่างแน่วแน่
           ครั้นถึงวัย ๑๖ พรรษา ก็แตกฉานในศิลปวิทยา ๑๘ แขนง ทรงได้ขึ้นครองราชย์และอภิเษกกับพระนางมัทรี และมีพระโอรสกับพระธิดาพระนามว่า "ชาลีกุมาร" และ "กัณหากุมารี" อันหมายถึงห่วงทองบริสุทธิ์
        เวลาต่อมาเมืองกลิงครัฐเกิดกลียุค ฝนแล้งผิดฤดูกาลข้าวยากหมากแพงเป็นที่ยากเข็ญทุกข์ร้อนไปทั่ว ชาวนครมาชุมนุมร้องทุกข์หน้าวังกันแน่นขนัด พระเจ้ากลิงคราชจึงทรงถือศีล ๗ วัน เพื่อขอบุญกุศลช่วย ทว่าฝนฟ้าก็ยังแล้งหนัก อำมาตย์จึงทูลให้ทรงขอช้างเผือกแก้วปัจจัยนาเคนทร์ของพระเวสสันดร ด้วยว่าพระเวสสันดรกษัตริย์สีพีรัฐนั้นขี่ช้างคู่บารมีไปหนใด ก็มีฝนโปรยปรายชุ่มชื้นไปทั่วแคว้น 
              พระเจ้ากลิงคราชจึงส่ง ๘ พราหมณ์ไปทูลขอช้างแก้วจากพระเวสสันดร
เมื่อได้ช้างแก้วจากพระเวสสันดรแล้ว พราหมณ์ก็ขี่ช้างออกจากกรุง บรรดาชาวนครเห็นช้างพระราชาก็กรูกันเข้าล้อม และตะโกนด่าทอจะทำร้ายพราหมณ์ทั้ง ๘ คน พราหมณ์ตวาดตอบว่า พระเวสสันดรพระราชทานช้างให้พวกตนแล้ว
         เมื่อพราหมณ์นำช้างแก้วไปถึงเมือง ฝนฟ้าก็โปรยปรายลงมาเป็นที่ยินดีทั้งแคว้น    แต่ในกรุงสีพีนั้นกลับอลหม่าน มหาชนต่างมาชุมนุมที่หน้าพระลานร้องทุกข์พระเจ้ากรุงสัญชัยว่า พระเวสสันดรยกพระยาคชสารคู่บ้านเมืองให้คนอื่น ผิดราชประเพณี เกรงว่าอีกต่อไปภายหน้าอาจยกเมืองให้คนอื่นก็ได้ ขอให้เนรเทศพระเวสสันดรออกจากนครเถิด
อานิสงส์
        ผู้ใดบูชากัณฑ์หิมพานต์ย่อมได้สิ่งปรารถนาทุกประการ ครั้นตายแล้วได้ไปบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เสวยสมบัติอันมโหฬาร มีบริวารแวดล้อมบำรุงบำเรออยู่เป็นนิตย์ จุติจากสวรรค์แล้วจะลงมาเกิดในตระกูลขัตติยะมหาศาล หรือตระกูลพราหมณ์มหาศาล อันบริบูรณ์ด้วยทรัพย์ศฤงคาร บริวารมากมายนานาประการ เช่น โค กระบือ ช้าง ม้า รถ ยานพาหนะจะนับจะประมาณมิได้ ประกอบด้วยสุขกายสบายใจทุกอิริยาบถฯ
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. คนดีเกิดมานำพาโลกให้ร่มเย็น
๒. โลกต้องการผู้เสียสละ มิฉะนั้นหายนะจะบังเกิด
๓. การทำดีย่อมมีอุปสรรค "มารไม่มีบารมีไม่มา มารยิ่งมาบารมียิ่งแก่กล้า"
๔. จุดหมายแห่งการเสียสละ อยู่ที่พระโพธิญาณมิหวั่นไหวแม้จะได้รับทุกข์
กัณฑ์ทานกัณฑ์
ความย่อ
กล่าวถึงพระราชมารดา รับอาสาไปทูลวิงวอนขอโทษพระเจ้ากรุงสัญชัย ให้ทรงลดหย่อนผ่อนโทษแต่ไม่สำเร็จ จากนั้นพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญมหาทาน เรียกว่า "สัตตสดกมหาทาน" แล้วทูลลาพระชนกชนนี ทรงขึ้นราชรถเวียนรอบเมือง มีพราหมณ์ ๔ คนมาทูลขอม้าและราชรถพระองค์ก็เปลื้องปลดพระราชทานให้
เนื้อเรื่อง
       พระเจ้ากรุงสัญชัยจำต้องเนรเทศพระราชโอรสด้วยเสียพระทัยนัก พระนางผุสดีทูลขออภัยโทษก็มิเป็นผลสำเร็จ พระเวสสันดรทูลลาพระมารดาพระบิดา และขอบริจาคทานให้พิธีสัตตสตกมหาทาน คือ ช้าง ม้า โคนม รถม้า ทาสและทาสี อย่างละ ๗๐๐ บริจาคให้คนทั่วไป ตตสตกมหาทานนั้น คือ ช้าง ๗๐๐ เชือก ม้า ๗๐๐ ตัว โคนม ๗๐๐ ตัว รถม้า ๗๐๐ คัน นารี ๗๐๐ นาง ทาส ๗๐๐ คน ทาสี ๗๐๐ คน ผ้าอาภรณ์ ๗๐๐ ชิ้น    เสด็จออกจากนคร  พระนางมัทรีพาพระโอรสและพระธิดาตามเสด็จออกป่าด้วย มิทรงยอมอยู่ในวังแม้พระเวสสันดรจะยับยั้งห้ามปราม มิให้มาตกระกำลำบากด้วยกันในป่า ระหว่างทางที่เสด็จขึ้นราชรถทองไปนั้น มีพราหมณ์วิ่งมาทูลขอม้าบ้าง ขอราชรถบ้าง พระเวสสันดรก็ยกให้ทั้งสิ้น ในที่สุดจึงต้องทรงอุ้มพระโอรสและพระธิดาเสด็จเข้าป่าไป
อานิสงส์
ผู้ใดบูชากัณฑ์ทานกัณฑ์ จะบริบูรณ์ด้วยแก้วแหวนเงินทอง ทาส ทาสี และสัตว์สองเท้าสี่เท้า ครั้นตายแล้วจะได้ไปเกิดในฉกามาพจรสวรรค์ มีนางเทพอัปสรแวดล้อมมากมาย เสวยสุขอยู่ในปราสาทสร้างด้วยแก้ว ๗ ประการ
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. ความรักของแม่ ความห่วงของเมีย
๒. โทษทัณฑ์ของการเป็นหม้าย คือ ถูกประนามหยามหมิ่นอาจถึงจบชีวิตด้วยการก่อกองไฟให้รุ่งโรจน์แล้วโดดฆ่าตัวตาย
๓. เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม พึงยอมเสียสละประโยชน์สุขส่วนตัว
๔. ยามบุญมีเขาก็ยก ยามตกต่ำเขาก็หยาม ชีวิตมีทั้งชื่นบานและขื่นขม
กัณฑ์วนประเวศน์
ความย่อ
กล่าวถึงพระเวสสันดร มัทรี ชาลี กัณหา เสด็จมุ่งสู่ป่าเขาคีรีวงกต โดยอาศัยไมตรีจิตมิตรกษัตริย์ เมืองเจตราชทูลระยะทาง จนกระทั่งถึง ทั้งสี่พระองค์ทรงบำเพ็ญพรตอยู่ในนั้นเป็นเวลา ๗ เดือน กษัตริย์เจตราชแต่งตั้งพรานเจตบุตรเป็นผู้อยู่คอยพิทักษ์รักษาสวัสดิภาพของพระเวสสันดร
เนื้อเรื่อง
        เมื่อเสด็จด้วยพระบาทถึงเมืองเจตรัฐ พระราชาเสด็จมาต้อนรับและทูลเชิญให้ครองเมืองเจตรัฐนั้น แต่พระเวสสันดรขอไปบำเพ็ญเพียรในป่า กษัตริย์เจตรัฐจึงรับสั่งให้เจตบุตรคอยอารักขาในป่า และถวายน้ำผึ้งและเนื้อให้พระเวสสันดรด้วย
       เมื่อพระเวสสันดรเดินทางมาถึงเขาวงกต พระนางมัทรีและชาลีกุมาร กัณหากุมารีต่างก็เหน็ดเหนื่อยสะอื้นไห้ด้วยความลำบากยากเข็ญ พระเวสสันดรจึงทรงเปลี่ยนเครื่องทรงเป็นนุ่งห่มของนักบวช พระนางมัทรีก็ทรงบวชเป็นดาบสินี บำเพ็ญศีลกันในป่าอยู่ที่อาศรม พระนางมัทรีต้องปัดกวาดอาศรมทุกวันแล้วก็หาผลไม้ในป่า ตักน้ำมาเตรียมไว้ ในป่านั้นอุดมด้วยผลไม้นานาชาติ มีสระโบกขรณีน้ำสะอาดใสไหลเย็น มีพฤกษาร่มรื่นและมีดอกไม้หอมหวลทั่วทั้งป่าราวกับวิมานทิพย์
อานิสงส์
      ผู้ใดบูชากัณฑ์เทศน์วนประเวศน์จะได้รับความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า จะได้เป็นบรมกษัตริย์ในชมพูทวีปเป็นผู้ทรงปรีชา เฉลียวฉลาด สามารถปราบอริราชศัตรูให้ย่อยยับไปฯ
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. ยามเห็นใจ ยามจน ยามเจ็บ ยามจากเป็นยามที่ควรจะได้รับความเหลียวแล
๒. ผลดีของมิตรแท้ คือ ไม่ทอดทิ้งในยามเพื่อนทุกข์ ช่วยอุ้มชูยามเพื่อนอ่อนล้า ช่วยฉุดดึงยามเพื่อนตกต่ำ
๓. น้ำใจของคนดี หากรู้ชัดว่าปกติสุขของคนส่วนมากจะตั้งอยู่ได้ เพราะการเสียสละของตน ก็สมัครสลัดโอกาสและโชคลาภอันจะพึงได้ ด้วยความชื่นชม 
                               กัณฑ์ชูชก ความย่อ
กล่าวถึงเฒ่าชราตาชูชก ได้เร่ร่อนขอทาบแล้วนำเงินไปฝากเพื่อนไว้ แต่เพื่อนก็นำเงินไปใช้จนหมด เมื่อชูชกไปทวงจึงไม่มีจะให้ จึงยกนางอมิตตดาธิดาสาวให้แทน นางปฏิบัติต่อสามีดี จนเป็นเหตุให้พราหมณีเพื่อนบ้านพากันอิจฉาด่าว่าตบตี เลยไม่ยอมทำงานนอก และแนะให้เฒ่าชูชกไปทูลขอสองกุมารมาเป็นข้าทาสรับใช้
เนื้อเรื่อง
          ชูชก ขอทานเฒ่า  อีกด้านหนึ่งนั้น พราหมณ์นาม "ชูชก" ได้เที่ยวขอทานเก็บเงินได้ถึง ๑๐๐ กษาปณ์ จึงนำเงินไปฝากเพื่อนไว้พลางคุยอวดเศรษฐีอย่างปีตินัก จากนั้นก็ออกเดินทางตระเวนขอเงินสืบไป
         ส่วนพราหมณ์ผัวเมียเก็บเงินไว้นานแล้ว เห็นว่าชูชกไม่มาเอาสักที คิดว่าชูชกคงจะตายไปแล้ว จึงชวนกันนำเงินนั้นออกมาใช้จ่ายเสียจนหมดทั้งสิ้น
        ครั้นชูชกหวนกลับมาทวงเอาเงิน สองผัวเมียก็ตกใจงันงกมิรู้จะทำประการใด ด้วยความที่กลัวชูชกจะเอาความ จึงตกลงจะยกนางอมิตดาลูกสาวให้แก่ชูชกแทนเงินที่ใช้หมดไป    นางอมิตดามีรูปงามและวัยสาว ส่วนชูชกนั้นเฒ่าชราและมีรูปลักษณ์อุบาทว์อัปลักษณ์ยิ่งนัก    เมื่อชูชกพานางอมิตดาไปอยู่กินด้วยกันที่หมู่บ้านทุนวิฐ พวกเมียพราหมณ์บ้านอื่นต่างพากันริษยาอิจฉานางอมิตดา พราหมณ์ทั้งหมู่บ้านก็ชื่นชมนางอมิตดาจนมาทุบตีเมียตนกันทุกวัน ด้วยเพราะนางอมิตดานั้นเป็นบุตรกตัญญู เมื่อมาอยู่กับชูชกก็ปรนนิบัติรับใช้ทุกปร
กัณฑ์มหาพน 
ความย่อ
กล่าวถึงชูชกเดินทางไปพบพระอัจจุตฤาษี ได้หลอกลวงพระฤาษีให้หลงกลว่าเป็นกัลยาณมิตรของพระเวสสันดร จนได้พักค้างคืนกับพระฤาษี รุ่งขึ้นพระฤาษีได้ให้กินผลไม้ และชี้ให้ชมเขาลำเนาไพรพร้อมบอกระยะทางสภาพป่า และหนทางที่จะไปสู่เขาวงกตให้แก่ชูชก  ซึ่งประกอบไปด้วย เขาใหญ่ สระน้ำ และสัตว์ป่านานาชนิด
เนื้อเรื่อง
เฒ่าชูชกเดินทางไปกลางป่า พบฤาษีอัตจุตก็เล่าความเท็จอีก ฤาษีจึงยอมชี้ทางไปอาศรมของพระเวสสันดร เมื่อไปถึงเป็นเวลาพลบค่ำ เฒ่าชูชกก็ซ่อนตัวบนชะง่อนเขาด้วยคิดว่า ต้องรอรุ่งเช้าให้พระนางมัทรีออกไปหาผลไม้ เพราะนางคงไม่ยอมยกลูกให้ใครแน่
อานิสงส์
ผู้ใดบูชากัณฑ์มหาพน จะได้เสวยสมบัติในดาวดึงส์เทวโลกนั้น แล้วจะได้ลงมาเกิดเป็นกษัตริย์มหาศาล มีทรัพย์ศฤงคารบริวารมาก มีอุทยานและสนระโบกขรณีเป็นที่ประพาส เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยศักดานุภาพเฟื่องฟุ้งไปทั่วชมพูทวีป อีกทั้งจักได้เสวยอาหารทิพย์เป็นนิจนิรันดรฯ
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. ฉลาดแต่ขาดเฉลียว มีปัญญาแต่ขาดสติก็เสียทีพลาดท่าได้
๒. สงสารฉิบหาย เชื่อง่ายเป็นทุกข์
๓. คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ ซื้อเสื่อให้ดูลาย 
กัณฑ์กุมาร
ความย่อ
กล่าวถึงชูชกเดินทางถึงอาศรมของพระเวสสันดร ได้หยุดพักผ่อนที่คาคบไม้ ๑ ราตรี รุ่งขึ้นเมื่อนางมัทรีเข้าป่าหาผลไม้แล้ว ชูชกจึงเข้าเฝ้าทูลขอพระชาลีและกัณหา ก็ทรงประทานให้ สองกุมารได้ยิน จึงตกใจกลัวหนีไปซ่อนตัวอยู่ในสระ พระเวสสันดรได้ขอร้องให้ทั้งสองพระองค์ออกมา แล้วชูชกก็นำทั้งสองพระองค์ไป
เนื้อเรื่อง     เคราะห์ร้ายมาถึง และในคืนนั้นเอง พระนางมัทรีทรงสุบินร้ายว่า มีบุรุษผิวดำร่างสูงใหญ่นุ่งผ้าย้อมฝาด สองหูทัดดอกไม้แดง มือถือดาบใหญ่ ตรงเข้าจิกพระเกศาแล้วแทงดาบใส่ดวงพระเนตร ควักดวงตาออกไปทั้งสองข้าง จากนั้นกรีดพระอุระควักเอาพระทัยไปทั้งดวง  พระนางร้องลั่นสะดุ้งตื่นบรรทมพระวรกายสั่นสะท้าย รีบไปหาพระเวสสันดรเพื่อจะให้ทำนายฝัน แต่เมื่อเข้าไปในอาศรมพระเวสสันดรก็ตรงตรัสว่า "น้องหญิงจงเล่าความอยู่ที่ข้างนอกเถิด"
       พระนางมัทรีทรงทูลเล่าพระสุบินนั้นพระทัยสั่น พระเวสสันดรทรงทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้นในรุ่งเช้า แต่ทรงตรัสแก่พระนางว่าเป็นความตรากตรำลำบาก จึงทำให้เกิดธาตุวิปริตดังนี้
เมื่อรุ่งเช้าพระนางมัทรีมีลางสังหรณ์ไม่อยากเสด็จเข้าป่า จึงตรัสสั่งพระโอรสและธิดาให้อยู่ใกล้ ๆ เสด็จพ่อ    ครั้นพระนางมัทรีไปแล้ว เฒ่าชูชกจึงรีบเข้าไปยังบริเวณอาศรมทันที เมื่อพระกุมารชาลีเข้าไปถามต้อนรับ ชูชกสังเกตรู้ว่าพระกุมารเป็นเด็กฉลาด จึงทรงร้องตวาดไล่ไปด้วยหวังจะข่มให้กลัวแล้วหนีไป
           แล้วเฒ่าชูชกก็เข้าเฝ้าพระเวสสันดร พยายามอ้างถึงความลำบากยากเข็ญนานาประการ ในการเดินทางฝ่าอันตรายมาถึงป่านี้ ก็เพื่อขอปิยบุตรไปช่วยงานที่บ้าน เนื่องจากตนจนยากไม่มีเงินซื้อทาสได้
           พระเวสสันดรทรงตรัสอนุญาต ชาลีกุมารแอบได้ยินจึงพาน้องสาวไปซ่อนที่ใต้ใบบัวข้างสระน้ำ       เฒ่าชูชกเห็นเด็กทั้งสองหายไป ก็แกล้งติเตียนตัดพ้อพระเวสสันดรด้วยคำบริภาษว่า  "ไหนล่ะที่พระองค์บริจาคทาน ปากยกให้แต่ไหนละเด็กร้ายทั้งสองคงจะคิดหนีไปแล้ว พระองค์มิได้มีจิตบริจาคทานตามที่ลั่นสัจจะไว้เลย"
              เมื่อสดับดังนั้น พระเวสสันดรจึงทรงเสด็จออกตามหาทั่วบริเวณ
ชาลีราชกุมารมิอยากให้พระราชบิดาออกร้องเรียกนานไป จึงจูงน้องออกมา พระเวสสันดรขอให้กัณหา ชาลี ติดตามเฒ่าชูชกไปเถิด แต่ให้รอร่ำลาพระนางมัทรีก่อน
เฒ่าชูชกไม่ยอมฟัง รีบหาเชือกเถาวัลย์มาผูกมัดพระโอรสพระธิดา แล้วเอาหวายเฆี่ยนตีต่อหน้าพระเวสสันดร พลางฉุดกระชากลากไปอย่างโหดเหี้ยม
กัณหา ชาลี ถูกตีรุนแรงก็ร่ำไห้หาพระบิดาพระมารดา พระเวสสันดรทรงกันแสง แต่ก็ตั้งมั่นในสัจจะที่พระองค์ตั้งจิตไว้    ก่อนไปนั้นชูชกว่า ถ้าจะไถ่ตัวกันหาชาลีได้ต้องให้ ทาส ทาสี ช้าง ม้า โคนม ทองคำ สิ่งละ ๑๐๐ แก่ชูชก
        ครั้นเมื่อเฒ่าร้ายนำตัวพระกุมารและกุมารีไปแล้ว ก็ให้เกิดอัศจรรย์ดินฟ้าวิปโยคครืนครั่น ฟ้าผ่าน่าสะพรึงกลัวไปทั่วป่าหิมพานต์
        อานิสงส์
ผู้ใดบูชากัณฑ์กุมาร ย่อมประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา ครั้นตายไปได้เกิดในฉกามาพจรสวรรค์ในสมัยพระศรีอาริยเมตไตรยมาอุบัติ ก็จะได้พบศาสนาของพระองค์จะได้ถือปฏิสนธิในตระกูลกษัตริย์ ตลอดจนได้สดับฟังพระสัทธรรมเทศนาของพระองค์ แล้วบรรลุพระอรหันตผล พร้อมปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ ด้วยบุญราศีที่ได้อบรมไว้ฯ
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. ความเป็นผู้รู้จักกาลเทศะ ไม่ผลีผลามเข้าไปขอรอจนพระมัทรีเข้าป่าจึงเข้าเฝ้า เพื่อของสองกุมาร เป็นเหตุให้ชูชกประสบผลสำเร็จใจสิ่งที่ตนปรารถนา ดังภาษิตโบราณว่า "ช้า ๆ จะได้พร้าเล่มงาม ด่วนได้สามผลามมักพลิกแพลง" ช้าเป็นการนานเป็นคุณ ผู้รู้จักโอกาส มีมารยาท กล้าหาญ ใจเย็น เป็นสำเร็จ
๒. พ่อแม่ทุกคนรักลูกเหมือนกัน แต่เป็นห่วงไม่เท่ากัน ห่วงหญิงมากกว่าห่วงชาย เพราะท่านเปรียบไว้ว่า "ลูกหญิงเหมือนข้าวสาร ลูกชายเหมือนข้าวเปลือก"
๓. สติ เตสัง นิวารณัง สติเป็นเครื่องป้องกันอันตรายทั้งปวงได้ ขันติ สาหสวารณา ขันติป้องกันความหุนหันพลันแล่นได้ เป็นเหตุให้พระเวสสันดรไม่ประหารชูชกด้วยพระขรรค์ เมื่อถูกชูชกประนาม
๔. วิสัยหญิงนั้น แม้จะมากอยู่ด้วยเมตตากรุณา ชอบปลดเปลื้องทุกข์แก่ผู้อื่นก็จริงอยู่ แต่เว้นอย่างเดียว ที่ผู้หญิงนั้นไม่มีวันจะสละสิ่งนั้น คือ "ลูก"

กัณฑ์มัทรี
ความย่อ
กล่าวถึงพระนางมัทรีเข้าป่าหาผลไม้ แล้วเจอเหตุการณ์มหัศจรรย์ต่าง ๆ จึงเดินทางกลับอาศรม ก็เกิดพายุใหญ่ มืดครึ้มไปทั่วบริเวณ อีกทั้งยังมีสิงห์สาราสัตว์ร้าย มาขวางทางไว้ เมื่อมาถึงอาศรมได้ทราบความ ทำให้พระองค์เสียพระทัยมาก จนสลบไป หลังจากฟื้นคืนสติกลับมา พระนางก็อนุโมทนากับพระเวสสันดรด้วย
เนื้อเรื่อง
รุ่งเช้าพระนางมัทรี เข้าป่าหาผลไม้ "เกิดเหตุแปลกประหลาดมหัศจรรย์ ผลไม้เผือกมันช่างหายากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นมะม่วงมัน ลูกจันทน์ ลิ้นจี่ น้อยหน่า สาลี่ ละมุด พุทรา ไม่มีให้เก็บเหมือนดังกับวันก่อน นางรีบย้อนกลับเคหา ก็เกิดพายุใหญ่ จนมืดครึ้มไปทั่วทั้งป่า ท้องฟ้าสีแดงปานเลือดละเลง ทั้งแปดทิศปรากฎมืดมนไปหมดอย่างไม่เคยมี พระนางทรงห่วงหน้าพะวงหลัง เกรงจะมีภัยแต่พระเวสสันดรา กัณหาและชาลี          พระนางมัทรีรีบยกหาบใส่บ่ารีบเดินทาง พอถึงช่องแคบระหว่างเขาคีรี เป็นตรอกน้อยรอยวิถีทางที่เฉพาะจะต้องเสด็จผ่าน ก็พบกับสองเสือสามสัตว์มานอนสกัดหน้า เทวดาสามองค์แปลงร่างเป็นราชสีห์ เสือเหลือง เสือโคร่งสกัดทางนางไว้เพื่อมิให้พระนางมัทรีติดตามกัณหา ชาลีได้ทัน แต่ถึงกระนั้น เมื่อยามทุกข์เข้าบีบคั้น ความรักลูก ความห่วงพระภัสดา พระนางจึงก้มกราบวิงวอน ขอหนทางต่อพญาสัตว์ทั้งสาม เมื่อได้หนทางแล้ว พระนางก็รีบเสด็จกลับอาศรม
                         เมื่อมาถึงอาศรม ไม่พบกัณหา ชาลี พระนางก็ร้องเรียกหาว่า
"ชาลี กัณหา แม่มาถึงแล้ว เหตุไฉนไยพระลูกแก้ว จึงไม่มารับเล่าหลากแก่ใจ แต่ก่อนร่อนชะไรสิพร้อมเพรียง เจ้าเคยวิ่งระรี่เรียงเคียงแข่งกันมารับพระมารดา เคยแย้มสรวลสำรวจร่า ระรื่นเริงรีบรับเอาขอคาน แล้วก็พากันกราบกรานพระชนนี พ่อชาลี ก็จะรับเอาผลไม้ แม่กัณหาก็จะอ้อนวอนไหว้จะเสวยนม ผทมเหนือพระเพลาพลาง เจ้าเคยฉอเลาะแม่ต่าง ๆ ตามประสาทารกเจริญใจฯ"
           บัดนี้ลูกรักทั้งคู่ไปไหนเสีย จึงมิมารับแม่เล่า ครั้นเข้าไปถามพระเวสสันดรก็ถูกตัดพ้อต่อว่าต่าง ๆ จนพระนางมัทรีถึงวิสัญญีภาพสลบลง พระเวสสันดรทรงปฐมพยาบาลจนพระนางมัทรีฟื้น แล้วจึงแจ้งความจริงว่า พระองค์ได้ทรงยกลูกรักชายหญิงทั้งสอง มอบให้แก่ชูชกไปแล้วตั้งแต่เมื่อวาน พระนางก็อนุโมทนาซึ่งทานนั้นด้วย
             อานิสงส์
       ผู้ใดบูชากัณฑ์มัทรี เกิดในโลกหน้าจะเป็นผู้มั่งคั่ง สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เป็นผู้มีอายุยืนยาว ทั้งประกอบด้วยรูปโฉมงดงามกว่าคนทั้งหลาย จะไปในที่แห่งใด ก็จะมีแต่ความสุขความเจริญทุกหนแห่ง
     ข้อคิดประจำกัณฑ์
ลูกคือแก้วตาดวงใจของผู้เป็นพ่อแม่ "ลูกดีเป็นที่ชื่นใจของพ่อแม่ ลูกแย่พ่อแม่ช้ำใจ" รักใครเล่าจะเท่าพ่อแม่รัก ห่วงใดเล่าจะเท่าพ่อแม่ห่วง หวงใดเล่าจะเท่าพ่อแม่หวง ให้ใครเล่าจะเท่าพ่อแม่ให้ เพราะฉะนั้นพึงเป็นลูกแก้ว ลูกขวัญ ลูกกตัญญู ที่ชาวโลกชื่นชม พรหมก็สรรเสริญฯ 
     กัณฑ์สักกบรรพ
ความย่อ
       กล่าวถึงพระอินทร์ เกรงว่าจะมีผู้มาขอพระนางมัทรีไปอีก จักไม่มีผู้ปรนนิบัติพรเวสสันดร พระโพธิญาณจักเป็นอันตราย จึงได้แปลงเป็นพราหมณ์ชราลงมาขอ เมื่อได้แล้วไม่เอาไป กลับถวายคืนแก่พระเวสสันดร โดยห้ามประทานนางแก่ผู้ใดอีก พร้อมทั้งประสาทพร ๘ ประการ ให้แก่พระเวสสันดร แล้วจึงเสด็จกลับสู่สวรรค์
เนื้อเรื่อง
ขณะนั้นท้าวสหัสนัยบนสวรรค์ เกรงว่าจะมีชายโฉดมาทูลขอพระนางมัทรี จึงจำแลงกายเป็นนักบวชชรามาทูลขอพระนาง พระเวสสันดรทรงยินดีบริจาคทานให้ แต่นักบวชชราเมื่อได้รับแล้วก็ไม่เอาไป กลับถวายคืนแก่พระเวสสันดร โดยห้ามพระองค์ประทานนางแก่ผู้ใดอีก     องค์อินทร์ประสาทพร
ก่อนกลับได้ประสาทพรให้พระเวสสันดร ๘ ประการ คือ
๑. ให้ทรงได้รับอภัยโทษ
๒. ให้ทรงช่วยคนถูกฆ่าได้
๓. ให้ไพร่ฟ้าได้พึ่งพา
๔. ให้มั่นคงในมเหสี ไม่ลุ่มหลงสตรีอื่น
๕. ให้ได้สืบสันติวงศ์
๖. ให้มีสิ่งของบริจาคทานมิสิ้น
๗. ให้มีอาหารทิพย์พอเพียงทุกรุ่งเช้า
๘. ให้ได้สำเร็จพระโพธิญาณ
แล้วท้าวสหัสนัยก็เนรมิตรร่างเป็นพระอินทร์เหาะขึ้นฟ้าไปทันที
านิสงส์
ผู้ใดบูชากัณฑ์สักกบรรพ จะได้เป็นผู้เจริญด้วยลาภยศ ตลอดจนจตุรพิธพรทั้ง ๔ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ตลอดกาลฯ
ข้อคิดประจำกัณฑ์
การทำดีแม้ไม่มีคนเห็น ก็เป็นความดีอยู่วันยังค่ำ ดุจทองคำแม้จะอยู่ในตู้โชว์ หรือในกำปั่นก็เป็นทองคำอยู่นั่นเอง เข้าลักษณะว่า ความ(ของ)ดีดีเด็ดเหมือนเพชรเหมือนทอง ถึงไร้เจ้าของก็เหมือนตัวยัง ถึงใส่ตู้อุด ถึงขุดหลุมฝัง ก็มีวันปลั่งอะหลั่งฉั่งชู การทำความดีแม้ไม่มีคนเห็น แต่เทพยดาอารักษ์เบื้องบนท่านย่อมรู้ 
กัณฑ์มหาราช
ความย่อ
                กล่าวถึงชูชกได้พาสองกุมารหลงทางไปจนถึงเมืองสีพี จนกระทั่งได้พบกับพระเจ้าปู่พระเจ้าย่า จึงรับสั่งให้ไถ่ถอนตัวทั้งสองพระองค์ และพระราชทานเลี้ยงอาหารชั้นดีแก่ชูชก ชูชกไม่มีวาสนาเพราะบริโภคมากเกินไป เป็นเหตุให้ไฟธาตุพิการอาหารไม่ย่อยจนถึงแก่ความตาย พระเจ้าสญชัยรับสั่งให้เตรียมกองทัพไปรับสองพระองค์
เนื้อเรื่อง
       ด้านชูชกเฒ่านั้นฉุดลากสองกุมารน้อยไปพลางทุบตีไปพลาง ด้วยหวังจะกลับไปหาภรรยาโดยเร็ว เมื่อถึงทางแยกเข้าเมืองกลิงคราฐ เทพยดาก็ดลบันดาลให้ชูชกเดินเข้ามาในเมืองสีพีรัฐ
    พระเจ้ากรุงสัญชัยก็ได้ทรงสุบินประหลาดว่า มีชายอัปลักษณ์นำดอกบัวตูมและดอกบัวบานมาถวายให้ พระองค์รับมาทัดที่พระกรรณแล้วก็ทรงตื่นบรรทม
เหล่าโหรก็ถวายคำทำนายว่า พระราชวงศ์ที่จากพลัดไปจะเสด็จคืนวัง
            วันรุ่งขึ้นนั้นเฒ่าชูชกจูงกุมารน้อยผ่านหน้าพระลาน พระราชาทรงเฉลียวพระทัย จึงให้เรียกตัวเฒ่าอัปลักษณ์และกุมารน้อย มอมแมมแต่ผิวพรรณเปล่งปลั่งนั้นเข้ามาเฝ้า   เมื่อพระราชาสอบถาม ชูชกก็กราบทูลว่าได้รับบริจาคมามิได้ไปฉุดคร่ามาที่ใด  พระราชาจึงทรงรู้ว่า ๒ กุมารน้อยนั้นเป็นหลานของพระองค์ จึงทรงไถ่ตัวหลานและพระราชทานรางวัลให้แก่ชูชกมากมาย ทั้งยังจัดอาหารคาวหวานชั้นเลิศมาให้แก่ชูชกอีกด้วย
           ขอทานเฒ่าไม่เคยเห็นอาหารชั้นดี มีความโลภจะกินให้หมด จึงกินเข้าไปไม่หยุดจนกระทั่งท้องแตกตายไป
           พระราชาเจ้ากรุงสัญชัยทรงจัดพิธีเวียนเทียนบายศรี สมโภชรับขวัญหลานเป็นที่ยิ่งใหญ่สมเกียรติ ครั้นแล้วก็ทรงถามถึงพระนางมัทรีและพระเวสสันดร ที่จากไปนานเป็นเวลา ๑ ปี ๑๕ วันแล้ว        "พระมารดาทรงลำบากเหลือแสนพระเจ้าข้า"    ชาลีราชกุมารทูลพระราชาด้วยสุระเสียงกำสรดยิ่งนัก

เสด็จคืนเวียงวัง
พระราชาจึงทรงให้จัดขบวนแต่งกองเกียรติยศ ยกออกนครไปรับพระเวสสันดร กลับสู่เวียงวังด้วยทรงคิดถึงราชบุตรและสำนึกผิดแล้ว
อานิสงส์
            ผู้ใดบูชากัณฑ์มหาราชจะได้มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ เมื่อเกิดเป็นมนุษย์จะได้เป็นพระราชา เมื่อจากโลกมนุษย์ไป ก็จะได้ไปเสวยทิพยสมบัติในฉกามาพจรสวรรค์ มีนางเทพอัปสรเป็นบริวาร ครั้นบารมีแก่กล้าก็จะได้นิพพานสมบัติ อันตัดเสียซึ่งชาติ ชรา พยาธิ มรณะ พ้นจากโอฆะทั้งสามมีกาโมฆะเป็นต้นฯ
                                    ข้อคิดประจำกัณฑ์
คนดีตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ย่อมได้รับความปกป้องคุ้มครองภัยในที่ทุกสถาน
                    ๑๒ กัณฑ์ฉกษัตริย์
ความย่อ
กล่าวถึงพระเจ้ากรุงสัญชัยและจตุรงคเสนา เดินทางไปถึงเขาวงกต กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ได้มาพบกันในกลางป่า โดยมิได้คาดฝัน ก็ทรงวิปโยคโศกศัลย์จนถึงวิสัญญีภาพสลบลง ฝนโบกขรพรรษบันดาลตกลงมาให้ทรงฟื้น แล้วพากันขอลุโทษและทูลอาราธนาให้ลาผนวช
เนื้อเรื่อง 
          การเสด็จพระราชดำเนินของพระเจ้ากรุงสัญชัยและจตุรงคเสนาเป็นขบวนเสด็จ จากรุงเชตุดรนครหลวง ถึงเขาวงกตเป็นระยะทาง ๖๐ โยชน์ เท่ากับ ๙๖๐ กิโลเมตร กษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ได้มาพบกันด้วยในกลางป่า โดยมิได้คาดฝัน จึงได้ร่วมเดินทางไปยังเขาวงกตพร้อมกัน
          กองขบวนเกียรติยศ พร้อมมโหรีและไพร่พล ก็เคลื่อนสู่ป่าด้วยเสียงอันกึกก้องลั่นป่า พระเวสสันดรเข้าพระทัยว่า กองในพระราชวังคงจะมาประหารพระองค์ จึงทรงพาพระนางมัทรีไปหลบซ่อนในพุ่มไม้ 
           ครั้นพระเจ้ากรุงสัญชัยบอกความให้ทราบ พระนางมัทรีก็ออกมาถวายบังคม ต่างก็ร่ำไห้ด้วยสลดใจกันถ้วนทั่วในเคราะห์กรรมนี้ แม้บรรดาเสนาอำมาตย์และนางกำนัลต่างก็ร้องไห้กันทั่ว
          พระราชาตรัสให้พระเวสสันดรลาผนวชกลับคืนสู่เวียงวัง พระนางผุสดีก็ขอให้พระนางมัทรีคืนสู่พระราชวังเถิด พระนางมัทรีได้แต่กันแสงสวมกอดกัณหาพระธิดา และพระโอรสชาลีไว้แนบอกด้วยทรงคิดถึงยิ่ง บริเวณป่าเต็มไปด้วยเสียงคร่ำครวญระงมจนหมดสติไปทั้งสิ้น      พระอินทร์บนสรวงสวรรค์เล็งทิพยเนตรเห็นดังนั้น จึงทรงบันดาลสายฝนให้โปรยปรายเป็นอัศจรรย์ ในป่าชุ่มชื้นด้วยในโบกขรพรรษที่มิสาดให้ผู้ใดเปียกปอน บรรดาพระราชวงศ์ก็ทรงฟื้นขึ้นมาด้วยความแช่มชื่นปราโมทย์ หลังจากนั้นได้ขอลุแก่โทษและทูลอาราธนาให้พระเวสสันดรทรงลาผนวช
อานิสงส์
ผู้ใดบูชากัณฑ์ฉกษัตริย์ จะได้เป็นผู้เจริญด้วยพร ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ทุก ๆ ชาติแลฯ
ข้อคิดประจำกัณฑ์
๑. พรากมีวันพบ จากมีวันเจอ จากกันยามเป็นได้เห็นน้ำใจจากกันยามตายได้เห็นน้ำตา   ๒. การให้อภัยเป็นเพราะได้สำนึกเป็นเหตุให้ลบรอยร้าวฉานบันดาลสันติสุขแก่ส่วนรวม    ๓. สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้ผิด บรรพชิตยังรู้เผลอ ความผิดพลาดเป็นเรื่องของมนุษย์ แต่การให้อภัยเป็นวิสัยของเทวดา 
 ๑๓ กัณฑ์นครกัณฑ์
ความย่อ
กล่าวถึงพระเวสสันดรเมื่อลาผนวชแล้ว ทรงสั่งลาพระอาศรม รับพระราชทานเครื่องทรงกษัตริย์ แล้วเสด็จกลับไปครองเมืองสีพี ด้วยความร่มเย็นเป็นสุขจนพระชนมายุ ๑๒๐ พรรษา จึงสวรรคตแล้วไปปรากฏอุบัติเป็นท้าวสันดุสิตเทพบุตร บนสวรรค์ชั้นดุสิต
เนื้อเรื่อง
เมื่อทรงลาผนวชแล้ว ทรงสั่งลาพระอาศรม รับเครื่องทรงกษัตริย์ แล้วเสด็จกลับไปครองเมืองสีพี พระเวสสันดรเสด็จขึ้นครองราชย์ครองแผ่นดิน ทำให้ไพร่ฟ้าเสนาอำมาตย์มีสุขสงบกันทั่วทั้งแคว้น ชาวเมืองต่างก็หมั่นถือศีลบำเพ็ญกุศลตามสัตย์อธิษฐานของพระเวสสันดร กษัตริย์เมืองกลิงคราฐก็นำช้างปัจจัยนาเคนทร์มาถวายคืน เพราะบ้านเมืองมีฝนตกต้องตามฤดูกาลแล้ว พระเวสสันดรก็ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม และยังคงทรงบริจาคทาน จนพระชนมายุได้ ๑๒๐ พรรษา จึงสวรรคตแล้วไปปรากฎอุบัติเป็นท้าวสันดุสิตเทพบุตร บนสวรรค์ชั้นดุสิต

รวมระยะเวลาที่พระเวสสันดร มัทรี ชาลี กัณหา ต้องนิราศจากพระนครไปอยู่ป่า เป็นเวลา ๑ ปี ๑๕ วัน
อานิสงส์
ผู้ใดบูชากัณฑ์นครกัณฑ์ จะได้เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยวงศาคณาญาติ ข้าทาสชายหญิง ธิดาสามี หรือบิดามารดาเป็นต้น อยู่พร้อมหน้ากันโดยความผาสุก ปราศจากโรคาพาธทั้งปวง จะทำการใด ๆ ก็พร้อมเพรียงกัน ยังการงานนั้น ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ข้อคิดประจำกัณฑ์
การทำความดี ย่อมได้รับผลดีตอบแทน การใช้ธรรมะในการปกครองย่อมทำให้เกิดความสงบร่มเย็น
ข้อคิดประจำชาดก
ชาดกเรื่องนี้มีคติธรรม สั่งสอนให้คนเราเพียรประกอบคุณงามความดีโดยมิท้อถอย หากรู้จักสละทรัพย์บริจาคทานเนื่องนิจก็จะเป็นที่สรรเสริญทั่วไป คนโลภคนจิตบาปหยาบร้ายก็ต้องได้ภัยเพราะตัวเอง ดั่งชูชกนั้นเอง
วิจารณ์ตัวละคร
พระเจ้าสญชัย-พระนางผุสดี
พระเจ้ากรุงสัญชัย-พระนางผุสดี เป็นแบบอย่างของนักปกครองระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่ รู้จักผ่อนผันเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ ไม่เว้นแก่พวกพ้อง แม้จะเป็นพระโอรสก็ตาม
พระเวสสันดร
เป็นแบบอย่างของผู้เสียสละประโยชน์ส่วนตัว เพื่อประโยชน์ของส่วนรวม มุ่งบำบัดทุกข์ บำรุงสุขของประชาชนเป็นที่ตั้ง ยอมเสียสละความสุขส่วนพระองค์ แม้จะทุกข์ก็ไม่หวั่น เป็นแบบอย่างของบุคคลผู้ไม่ยึดติดอำนาจวาสนา รู้ซึ้งถึงโลกธรรมที่ว่า "ยามมียศ เขาก็ยก ยามต่ำตกเขาก็หยาม" หาได้หวั่นไหวหรือล้มเลิกบำเพ็ญบารมีไม่
พระนางมัทรี
เป็นแม่แบบของภรรยาผู้มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตรของสามี สนับสนุนเป้าหมายชีวิตอันประเสริฐที่สามีได้ตั้งไว้ และยังเป็นแบบอย่างของภรรยาตามทัศนะของคนตะวันออก เช่น ปฏิบัติดูแลเรื่องข้าวปลาอาหาร เป็นต้น ทรงคุณธรรมสำคัญ คือ "ซื่อตรง จงรัก หนักแน่น"
พระชาลี-พระนางกัณหา
เป็นแบบอย่างของลูกที่เชื่อฟังพ่อแม่ เข้าใจในเจตนาแห่งการประพฤติธรรม เพื่อประโยชน์ของคนหมู่มากของพ่อคือพระเวสสันดร
นางอมิตตดา
เป็นแบบอย่างของลูกที่เชื่อฟังตั้งอยู่ในโอวาทของพ่อแม่ตามคติของคนยุคนั้น และของภรรยาที่ปฏิบัติต่อสามีตามคตินิยม แต่ขณะเดียวกันก็เป็นตัวอย่างของคนที่ไม่มีความเป็นตัวของตัวเอง ปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามกระแสของสังคมจนเกินควร อแม่ของนางอมิตตดา เป็นแบบอย่างของคนสุรุ่ยสุร่าย ไม่ประมาณตนเอง ประมาทในการใช้จ่าย สร้างหนี้สินก่อเวรก่อกรรมไว้ให้ลูก
ชูชก
เป็นตัวอย่างของคนที่ติดอยู่ในกามคุณเข้าลักษณะว่า "วัวแก่กินหญ้าอ่อน" ต้องตกระกำลำบากในยามชรา เพราะ "รักสนุก จึงต้องทุกข์ถนัด" ตำราหิโตปเทศว่า " ความรู้เป็นพิษเพราะเหตุไม่ใช้ปราสาทเป็นพิษเพราะคนเข็ญใจ อาหารเป็นพิษเพราะไฟธาตุไม่ย่อย เมียสาวเป็นพิษเพราะผัวแก่"
นางพราหมณี
เป็นตัวอย่างของชาวบ้านที่อิจฉาริษยาผู้อื่น โดยไม่คิดที่จะพิจารณาหาทางปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น
พรานเจตบุตร
เป็นแบบอย่างของคนดี แต่ขาดความเฉลียว จึงต้องตกเป็นเยื่อของเฒ่าชูชก
พระอัจุตฤาษี
เป็นแบบอย่างของนักธรรมผู้ฉลาด แต่ขาดเฉลียว หูเบาเชื่อคนง่าย ดังโบราณว่า "สงสารฉิบหาย เชื่อง่ายเป็นทุกข์"
กษัตริย์เจตราช
เป็นแบบอย่างของมิตรแท้ที่พร้อมที่จะช่วยเหลือมิตรในยามยาก มีน้ำใจไม่ทอดทิ้งแม่ในยามที่มิตรสิ้นทรัพย์อับวาสนา เข้าลักษณะว่า "ยามปกติก็อุปัฏฐาก ยามตกยากก็อุปถัมภ์"
ชาวเมืองกลิงครัฐ
เป็นแบบอย่างของผู้คลั่งไคล้ในกระแสค่านิยม ซึ่งไม่จำเป็นต้องถูกต้องงเสมอไป ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล เป็นต้นเหตุของการเดินขบวน และปลุก "ม็อบ" แสดงความเป็นประชาธิปไตย แต่เป็นประชาธิปไตยชนิด "บาทาธิปไตย" คือแก้ปัญหาด้วยเท้า นิยมความรุนแรง ใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา


     Visakha Puja Day is the day celebrated by Buddhists all over the world to honor the three most significant events in the Buddha's life. There are 3 significant separate events:

     1. The Buddha's birth , as one of the greatest man in the world .The Buddha taught the way to overcome suffering in life.His practice of spreading loving kindness, his compassion for all living beings, and attaining wisdom are virtues honored by all Buddhists. The Buddha was born into a royal warrior clan on the full moon day of the sixth lunar month in the Lumbini Garden 623 years before the Common Era. When the Queen of Suddodana Gautama king had permission to back to her hometown as to giving birth as they old custom in that time. One the way to her town to Tevaha she feel tried so she had a rest at the shadow of Sali tree in the Lumbini Garden is located in an area of Northern India known today as Nepal. His father was King Suddodana Gautama and his mother was Queen Siri Mahamaya. He was named Siddhattha five days after his birth.

     2. The enlightenment of Buddha where the Four Noble truth has rose ; this event took place on the full-moon day in May, when the moon is in the Visakha asterism, which is why the day is called Visakha Puja. On the Enlightenment he was sitting under the Bondi tree control his breathing in and out until he got the "yan" in each step as following. ...
  Early stage: attain "Bupenivas-sanutiyan" as the power to seeking his own and thers past lives.
  Middle stage: attain "Jetub-batayan" as he realized the impermanence of life and how living beings die only to be reborn again.
  Last stage: attain "Arsavak-kayan" as he realized the cause of all evil and suffering and how to be released from it. He understood how to end sorrow, unhappiness, suffering, old age and death. With this Enlightenment he found real peace, happiness, freedom and Buddha hood.
  At the full moon of May, forty-five years before the Buddhist Era, while sitting under the Bodhi tree at Gaya. He found his answer and attained the Enlightenment. The Great Man, now known as the Buddha, went first from Gaya to Sarnath near Benares where he gave his first sermon in the Deer Park. From then through the remaining 45 years of his life, he wandered from place to place teaching his discoveries to all whom would listen to him and organizing his followers whom renounced the world to form the Sangha.

     3. The Nibbana, the Buddha fell if while on his way to Kusinara2, capital of the Malla State. Even in the face of death his mind moved towards others. He told Ananda, his faithful attendant, to console Cunda, the poor blacksmith from whose house the Buddha ate his last meat with indigestible pork, 3 that his food offering was of great fruit and merit and that he should not blame himself for the food. On his deathbed under two Sala trees in the Sala Grove of the Mallas, he explained to his disciples that they would not be left without the Teacher for "The Doctrine and Discipline I have taught you, that shall be your Teacher, when I am gone." And his last words were; "Behold now, monks, I exhort you. Subject to decay are all component things. Work out your salvation with diligence."

     Custom of Visakha Puja Day rite
     When Visakha Puja Day come around in each year all Buddhism around the world that include Buddhist monk will gathering for a rite to commemorate the kindness and his passionate, his wisdom as one of the world light.
Every year when this important day comes around again, we Buddhists take the opportunity to pay homage to the Buddha as a way of expressing our gratitude for his goodness. Visaka Puja usually fell on the middle of May or June for Thai old lunar calendar. The rite that held on Visaka Buja can be divided into three rites:

   1. Royal rite
   2. General rite
   3. Monk rite where the monk will carry out monk rite. Most of the sermon and rite that held in Visaka Buja have the same way of Buddhism rite for Maka Buja.

Background : Visakha Puja.htm History of Buddha.htm

 
 

 

 
     
 

   One of Thai Buddhists celebrate as a holy day in each year which commemorate events in the Buddha's lifetime having to do with the formulation of his teachings called Makha Bucha. It usually celebrated on night of the full moon of the third lunar month, which corresponds to February.

 
 
 
 

   The first occurred nine months after the Buddha had been expounding his doctrine for seven months only. On the night of the full moon of the third lunar month which corresponding with holy day in Bhram, Buddha stay in Veru-vana-ram temple at Radchakrik City.

 
 
 
 

  

 It commemorates two separate events that occurred on the same date 45 years apart, during the Buddha's lifetime 2,500 years ago. The first event was the coming together of 1,250 monks from all locations and directions, to meet the Buddha, and the Buddha himself ordained all of these. This event occurred seven months after the Buddha began his teaching. The second event, which occurred 45 years later, was the Buddha delivering his teachings shortly before his death. Both of these events occurred on the day of the full moon of the third lunar month, a month known in the Buddhist Pali language as 'Makha'. The 'Bucha', also a Pali word, means to venerate or to honor. Thus, Makha Bucha Day is for the veneration of Buddha and his teachings on the full moon day of the third lunar month.

 
 
 
 

   Patimokka is main important practice means it is main of Buddha precept as Buddhism heart. This place held for the meeting by "Aorahunta" who which don't have to practice for his own wisdom.

 
     
 

   Makha Bucha Day represents a great deal in terms of the development of Buddhism in Thailand. It is a highly ceremonial event and in Thailand it's an event that was only recently revived a part of Thai Buddhist tradition. The Supreme Patriarch of the Marble Temple in Bangkok, Kittsobhana Mahathera, did this in 1957. Before 1957, the full moon day of the third lunar month was celebrated as a Buddhist Holy Day and regular religious ceremonies were held. Because of local ceremonies that occupied this day in the many different parts of the country, the Makha Bucha ceremonies today take on the different flavors of the various locales.

 
 
 
 

   At this time in the evolution of Buddhism and Buddhist principles in Thailand, it is important to understand how the majority of Thai people view Buddha and the Buddhist philosophy.

 
     
 

   Backgrounds: Makha Bucha Day.htm and The Day of Makha Bucha.htm

The astrological new years and the Thai Lunar Calendar Thailand's Songkran Festival is by far the most important event of the year for the Thai people.
      It's a time of fun and a special time for New Year ritual and respect for water, the most important element in the agriculture culture of Southeast Asia. Songkran falls in mid-April every year and has its origins in ancient astrology and the position of the sun. the term of Songkran itself mean "a move or change in the position of the sun from Aries to Taurus" it fall sometime between April 10, and April 18 and in Thai tradition it include the celebration of the end of the one year.
http://www.chiangmai-chiangrai.com/sk-orig.htm

Back to Top

      According to stone inscription in Wutt Chetupol as, one of wealthy men have no child while one of drung man who live next to him got one. One day both of them have an argument, the drung man said to the wealthy man that you have the money and wealth but one day it will extinguish cause you have no child but he got child that worse than any wealth. So after that day wealthy man has pray to God of the Sun and Moon to have a child. Three years later he still not getting one, until on the Change from Aries to Taurus he have make a worship to Shai god and this god have feel sorry for him. The Shai God went to ask the highest God to offer him a child. The highest God have let Tevabutt to born in the womb of wealthy man 's wife. After she gave birth of that child was named Thamabal. He soon became one of the smartest man in the world he can also understand of bird language.
      Kabila, a four -faced Braham god, is believed to be the lord of Songkran. He had seven beautiful daughters who became the symbols of Songkran (known as Nang Songkran). Kabila was so gifted that he was believed to be the smartest man in the world. He was very proud of himself and always thought there was on one as wise as he was.
      One day, he heard that there was a clever man named Thamabal on the earth. Everyone praised this man for his wisdom. Kabila became jealous, turned himself into an ordinary man and came down from heaven to ask Thamabal a riddle. If Thamabal couldn't answer the riddles he had to cut off his own head. If he could answer it, Kabila had to cut off his head.
      There were three riddles as following, where is the sign in the morning, lunch time and evening time? Thamabal have to answer it within 7 days. After 6 days had gone Thamabal still hasn't got the answer so he decided to go down from the castle and stay under the tree. Under this tree where he had heard two birds conversation, one of the bird said, "What we would have for the meals tomorrow?" And another bird replied, "We will have dead body of Thamabal cause he can not answer to Kabila's riddles". One of the bird ask for the riddles and one of them told the answer to that question. Thamabal listening to them and he got the answer.
      Kabila was the loser. He cut his head off but once it was cut from his body, it became lethal. If it fell on the earth, the whole world would be destroyed by fire. It was thrown into the water all the oceans would dry up and there would be an everlasting drought.
      To stop this from happening Kabila's eldest daughter, Tungsa put her father's head safety in Khanduli Cave on heavenly Mount Kralilas. Once a year on Songkran day his daughter would bring Kabila's head put of the cave and lead a precession around Mount Krailas. After this the inhabitants of all the seven-leveled-havens bathed and held a great celebration.

Back to Top

      There were 7 daughters of Kabila, depending on the Songkran day that fall on each of his daughter will have turn to bring Kabila's head preventing from fall on the ground, there are:
      Sunday: Nang Songkran named Tungsa,
      Monday: Nang Songkran named Koraka,
      Tuesday: Nang Songkran named Rasok,
      Wednesday: Nang Songkran named Monta,
      Thursday: Nang Songkran named kirinee,
      Friday: Nang Songkran named Kitima,
      Saturday: Nang Songkran named Mahoton.

Back to Top

      Songkran is one of Thai tradition celebration of Thai old New Year. It is occasion of passionate of love and relationship in family, community, society and religion as following:
      1. Important for family as a chance for family member to join and gathering together such as younger family member offer things for elder and older bless for a younger one. It is also an indication of reminding about relative and ancient who had passed away.
      2. Important for society, for society harmony such as join of making merit and gathering together
      3. Important for community, to sharing love and harmony within community, to care for public facility, environment, helping each others to clean community area include temple, house and public building.
      4. Important for religion, to support our Buddhism way by making merit and offering rice and food for the monk and following Buddha 's teaching and build sand pagoda.

Back to Top

      Songkran tradition activities that should be reserved and supported are:
1. Preparation
      - Preparation of clothing as to prepare clean and polite cloths also cloth that going to wear when you have to shown respective to family
      - People clean their house and community are a such as Temple that festival will be held

2. Activity procedure
      - People prepared cooked and meals of the Buddhist merit-making activities for relative that had pass away
      - The traditional of carry sand to temple then they will use the sand to build many type of animals image with having joss stick and candle put on the top
      - Merit making by release birds from cage and fish, also include of listening to monk chanting and following Buddha's teaching
      - To pass merit making to relative who had passed away by listening to monk chanting.
      - Clean Buddha image with clean water or water that mixed with Thai perfume with jasmine
      - Bathed Buddhist monk with clean water or to offering monk cloths
      - Bathed older as to shown a respected with clean water or the water that mixed with Thai perfume with fresh flower such as Thai jasmine
      - Politely Splashing water to each other without causing any trouble, without braking any rule or other people's right
      - Others gathering depending on each town traditional


Background : http://www.tat.or.th,

donphai.jpg

ordinationpn7.jpg

watparsalawan01.jpg

img_1885.jpg

novicefweb6.jpg

odinationpn4.jpg

น้ำบ่อน้ำคลอง ยังเป็นรองน้ำใจ   น้ำไหน ๆ ก็สู้น้ำใจไม่ได้ 
หลวงพ่อพระพุทธวรญานมหาเถระ เจ้าอาวาสวัดประยูรวรวงศาวาส  กรุงเทพฯ
บ้านดอนไผ่  หมู่ที่ ๕  ตำบลสีสุก อำเภอแก้งสนามนางนครราชสีมา  ๓๐๔๔๐** 
Address :BaanDonphai  Moo5,T. Sisook, A.Khangsanamnang J.Nakhornratchasima 30440 THAILAND E-mail: thaim2uk@hotmail.com